การวางแผนการลงทุน ( lnvestment Planning )

คือ การวางแผนเพื่อให้การลงทุนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการบนความเสี่ยงที่ยอมรับได้

คำถามก่อนจะลงทุน

1.เป้าหมายของการลงทุนเราต้องถามตนเองว่าเราลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ใดเพราะเป้าหมายที่ต่างกันจะนำไปสู่รูปแบบการลงทุนในระยะเวลาที่แตกต่างกันเช่นเราจะลงทุนเน้นผลตอบแทนสูงหรือเน้นการคงอยู่ของเงินต้น เราจะลงทุนเพื่อเป็นรายได้ประจำยามเกษียณ หรือ เป็นการเก็งกำไรระยะสั้น

2.ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เรารับความเสี่ยงได้มากขนาดไหนหากลงทุนผิดพลาดเรายังมีเงินสำรองไว้ใช้หรือมีแหล่งรายได้ใหม่เข้ามาอย่างสม่ำเสมออยู่หรือไม่ บางคน ลงทุนในตลาดหุ้นแล้วนอนไม่หลับกังวลอยู่ตลอดเวลา ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ต้องปรับรูปแบบการลงทุนให้เข้ากับวิถีชีวิตของเรา

3.ระยะเวลาในการลงทุนแต่ละคนอาจจะมีความจำเป็นต้องใช้เงินในเวลาที่แตกต่างกันคนหนุ่มสาวที่จะเก็บเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณแล้วมีเวลาลงทุนยังเหลือเฟือสามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนหุ้นระยะยาว(LTF)เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย

 4.ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ลงทุนเรามีความรู้ในหลักทรัพย์ที่จะลงทุนขนาดไหน รู้ปัจจัยและแนวโน้มที่จะกระทบต่อการลงทุนหรือไม่ ถ้าไม่รู้จะหาความรู้ได้ที่ไหน ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มากเพียงใด ถ้าเรายังไม่มั่นใจขอแนะนำให้ลงทุนผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตหรือกองทุนรวมจะดีกว่า

5.ผลตอบแทนที่ต้องการ คนส่วนใหญ่มักมองเรื่องนี้เป็นประเด็นแรกแน่นอนว่าทุกคนย่อมอยากได้ผลตอบแทนที่สูงที่สุดแต่สุดท้ายผลตอบแทนก็ต้องถูกกำหนดโดยความเสี่ยงระยะเวลาและเป้าหมายการลงทุน

 เมื่อเรารู้คำตอบทั้ง 5 ข้อแล้ว เราย่อมสามารถลงทุนได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

การจัดพอร์ตลงทุน (Asset Allocation )         

แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้กลไกของระบบการเงินเปลี่ยนไปรูปแบบการออมเก่าอาจไม่เหมาะสม ขณะที่รูปแบบการลงทุนใหม่ใหม่มีให้เลือกมาก อาทิเช่น

 1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / รวมถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

2. ประกันชีวิต

3.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

4. เงินสด

5. เงินฝากออมทรัพย์/ประจำ

6. ตั๋วแลกเงินบัตรเงินฝาก ( B/E, NCD )

7. พันธบัตร    

8. หุ้นกู้

9. กองทุนตราสารหนี้

10. หุ้นสามัญ

11. กองทุนรวม

12. ทองคำ

13. บ้านเช่า หอพัก แฟลต อาคารพาณิชย์ให้เช่า เป็นต้น