การวางแผนการใช้จ่าย ( Spending Planning )

          การวางแผนเพื่อจัดการรายจ่ายนั้นเป็นอีกทางหนึ่งที่สำคัญ สำหรับการวางแผนการเงินให้มีประสิทธิภาพ เพราะหากเราไม่รู้ว่าเงินของเราหายออกไปทางใดบ้าง ก็คงเป็นการยากที่จะบริหารหรือจัดการกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น โดยที่เราไม่ทราบที่มาที่ไป แต่การบริหารจัดการรายจ่ายนั้นไม่ได้หมายความถึงการที่เราจะต้อง ประหยัดหรืออดออมมากจนเกินไป แต่หมายถึงการที่เราจะต้องรับรู้และบริการจัดรายจ่ายให้เป็น ไม่ว่าเราจะมีรายได้มากขึ้นเพียงใด แต่ถ้าหากขาดการวางแผนในเรื่องของค่าใช้จ่ายแล้ว เงินออมหรือทรัพย์สินของเราก็คงไม่อาจจะเพิ่มขึ้นตามรายได้ของเราได้ ในทางกลับกันอาจจะทำให้ลดลงอีกด้วยหากยังไม่สามารถควบคุมในเรื่องชองการใช้จ่ายได้

ประเภทของรายจ่าย

          ก่อนอื่นเราต้องทราบว่ารายจ่ายที่เราๆจ่ายกันทุกวันนี้มีกี่ประเภท เราจะพบว่าค่าใช้จ่ายจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ

  1. ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและการลงทุน คือ ค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ต้องจ่ายทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ให้กับตัวเอง ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 10-20% ของรายได้ต่อเดือน โดยแบ่งได้เป็น
  2. เงินออม เพื่อเป้าหมายในระยะต่างๆตามที่ได้ตั้งไว้ เช่น เงินออมเพื่อใช้ยามฉุกเฉิน เงินออมเพื่อดาวน์รถ ดาวน์บ้าน ท่องเที่ยว แต่งงาน ค่าเล่าเรียนบุตร หรือเงินออมเพื่อเกษียณอายุ ฯลฯ 
  3. เงินออมเพื่อการลงทุน เพื่อเพิ่มความมั่งคั่ง และความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว เช่นการลงทุนในหุ้น กองทุน หรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

          แต่เนื่องจากการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงแฝงอยู่ด้วย ดังนั้นเราจึงควรกันเงินจำนวนนี้ออกจากเงินออมปกติ เพื่อไม่ให้กระทบต่อเป้าหมายต่างๆ หากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ

  • ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค คือ รายจ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา (ไม่ควรเกิน 80% ของรายได้ต่อเดือน) โดยแบ่งเป็น
  • ค่าใช้จ่ายประจำ คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนทุกเดือน เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเบี้ยประกัน ค่าผ่อนสินค้า หรือเงินกู้ต่างๆ เป็นต้น
  • ค่าใช้จ่ายผันแปร คือ ค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละเดือน ไม่แน่นอน ยืดหยุ่นไปตามกิจกรรมที่ทำในเดือนนั้นๆ ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการดำรงชีวิตของแต่ละคน เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

          เมื่อเราได้ทราบประเภทของรายจ่ายต่างๆแล้ว อันดับต่อมาคือ เราจะต้องใส่ใจในเรื่องเล็กๆน้อยๆของการใช้เงิน โดยการ “จดบันทึกรายรับรายจ่าย” อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบว่าเงินของเราหมดไปกับค่าใช้จ่ายประเภทใดบ้าง มีค่าใช้จ่ายใดที่เป็นสิ่งฟุ่มเฟือยที่จะสามารถลดลงได้บ้าง

          เริ่มด้วยการจดตัวเลขรายได้ที่ได้มา และรายจ่ายที่ได้จ่ายไปในแต่ละวัน ทั้งเงินเดือน ค่าเช่า ค่านายหน้า ค่าน้ำ ค่าไป ค่าอาหาร ทุกอย่างไม่ว่าจำนวนนั้นจะมาหรือน้อยเพียงใดก็ตาม เพื่อที่จะได้ทราบถึงการได้มา หรือจ่ายไปในทุกๆกิจกรรม

          เราต้องไม่ลืมที่จะกันในส่วนของรายจ่ายเพื่อการออมและการลงทุนออกไปก่อน เพราะรายจ่ายส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญกับชีวิตของเรา ซึ่งขั้นต่ำสุดๆเลยก็คือ 10% ของรายได้ในแต่ละเดือน

          ในช่วงแรกๆของการจดบันทึกนั้นอาจทำให้หลายๆคนต้องฝืนความรู้สึกของตัวเองอยู่บ้าง แต่หลังจากที่ได้ทำไปสักเดือน สองเดือน เราจะรู้สึกชอบการจดบันทึกแบบนี้ เรื่องจากเราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการใช้เงินในแต่ละวัน และจำนวนเงินที่เหลือเก็บเพิ่มมากขึ้น

          หลังจากที่เราได้จดบันทึกรายรับรายจ่ายครบหนึ่งเดือนแล้ว ลองรวบรวมข้อมูล ทั้งในด้านของรายได้และรายจ่ายทั้งหมด แล้วเราจะเห็นถึงการใช้เงินที่ฟุ่มเฟือย ขาดประสิทธิภาพในหลายๆเรื่อง ซึ่งรวมๆกันแล้วก็อาจจะเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเหมือนกัน ซึ่งหากเราสามารถลงรายจ่ายประเภทนี้ลงได้จะทำให้มีเงินเหลือที่จะนำไปออมหรือลงทุนเพิ่มเติมได้

          เมื่อมีจำนวนเงินในด้านของรายได้มากกว่าด้านของรายจ่ายแล้ว เราก็สามารถที่จะนำจำนวนเงินที่เหลือนี้ไปเพิ่มในด้านของรายจ่ายเพื่อการออมและการลงทุน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือเพิ่มความมั่งคั่งได้เร็วยิ่งขึ้น

          แต่ถ้าหากสรุปแล้วเงินทางด้านรายได้ยังไม่เพียงพอกับจำนวนเงินทางด้านรายจ่ายแล้ว มีวิธีการในการแก้ไขสถานการณ์ได้ ทางแรกคือ “ลดรายจ่าย” อีกทางคือ “เพิ่มรายได้”

          การลดรายจ่ายที่ง่ายที่สุด คือ “การลดรายจ่ายผันแปรที่ไม่จำเป็นต่างๆ เช่น การซื้อของฟุ่มเฟือย การเที่ยวเตร่ ดูหนังฟังเพลง หรือการรับประทานอาหารนอกบ้าน ฯลฯ ส่วนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ มักจะตัดออกไม่ค่อยได้ ทำได้แค่ลดปริมาณการใช้ลง

          หากใช้วิธีการลดรายจ่ายมากที่สุดแล้ว แต่เงินก็ยังไม่พอใช้อยู่ดี ก็อาจถึงเวลาที่คุณต้องมองหา

         1.  การตั้งงบประมาณก่อนที่จะใช้ เป็นการบังคับให้การใช้จ่ายแต่ละครั้งนั้น เป็นการใช้จ่ายด้วยเหตุผล ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ และนอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นการช่วยให้ไม่ลืมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอีกด้วย

         2.  เปรียบเทียบทุกครั้งก่อนซื้อ ไม่เพียงแต่เปรียบเทียบในเรื่องของราคาเท่านั้น ควรเปรียบเทียบในเรื่องปริมาณ และคุณภาพด้วย เพื่อให้ได้สินค้าที่ต้องการในราคาที่ดีที่สุด เพราะบางครั้งที่แพ็คเกจต่างกันปริมาณอาจจะไม่ต่างกันก็ได้ หรือแพ็คเกจที่ดูใหญ่อาจมีปริมาณน้อยกว่าแพ็คเกจที่ดูเล็กกว่าก็ได้

         3.  สรุปการใช้จ่ายอย่างสม่ำเสมอ ถึงจะเสียเวลา แต่รับรองว่าคุ้มค่าสุดๆ เพราะเราจะได้เห็นพฤติกรรม การใช้จ่ายของตัวเอง โดยสามารถติดตามการใช้จ่ายของตัวเองได้จากการเก็บใบเสร็จ ป้ายราคาสินค้า หรือสลิปบัตรเครดิตและเอทีเอ็ม เพื่อสำรวจว่าได้ใช้จ่ายไปมากแค่ไหนแล้ว

         4.  ใช้น้อยกว่าที่หาได้ ฟังดูง่ายๆ แต่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ ดั้งนั้นต้องอาศัยความตั้งใจจริงเท่านั้น

         5.  หากยังไม่ใช้ก็ยังไม่ต้องซื้อ คือ ซื้อเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ก่อนใช้จ่ายเงิน ลองชั่งใจดูสักนิดว่าจำเป็นหรือไม่ หากจำเป็นต้องใช้ค่อยซื้อ อย่าซื้อเพราะโปรโมชั่นดี มีของแถม ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่ หรือเพราะเกรงใจพนักงานขาย ทุกครั้งที่ไปซื้อของ เราควรคิดให้ดีก่อนว่าต้องการสินค้านั้นจำนวนเท่าไร อย่าให้แรงกระตุ้นของพนักงานขายทำให้เราไขว้เขว เพราะเราอาจได้สินค้าที่เกินความจำเป็น และเสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์

          เชื่อหรือไม่ว่า คนที่หาเงินเก่ง ไม่สู้คนที่เก็บเงินเก่ง และคนที่เก็บเงินเก่งก็ยังไม่สู้คนที่เก็บเงิน แล้วแบ่งเงินที่เก็บนั้นไปลงทุนให้เกิดประโยชน์  ดังนั้นนิสัยการใช้เงินในวันนี้ จึงสามารถบ่งบอกถึงอนาคตของแต่ละคนได้

          บ่อยครั้งคนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงินยังไม่ตระหนักถึงสถานะของตนเอง เพราะไม่มีไฟแดงกระพริบเตือนเป็นสัญญาณให้ทราบว่า กำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และอนาคตกำลังจะลำบาก ลองสังเกตดูว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ เพราะหลายคนกว่าจะรู้ว่ามีปัญหาทางการเงิน ก็เกือบเอาตัวไม่รอดแล้ว